ขั้นตอนการเตรียมไฟล์งาน



1. ที่สำคัญ โหมดสีการทำงานพิมพ์ ค่าสีต้องเป็น CMYK ค่ะ เพราะ RGB เป็นสีที่ใช้ในการแสดงบนรูปภาพ

และบนหน้าจอแสดงสีเท่านั้นส่วน การพิมพ์ จะใช้ค่าสี CMYK จะสังเกตได้ว่าการแสดงผลจะต่างกัน

 

2. เมื่อเปลี่ยนค่าสีเป็น CMYK แล้ว หากมีตัวหนังสือที่เป็นสีดำ จะต้องมีค่าสีเป็น

C=0% M=0% Y=0% K=100% ป้องกันการซ้อนทับของตัวหนังสือค่ะ 

(หากเป็นสีเทา ให้ลดค่า K ลงตามที่ต้องการ)

 

3. การเผื่อตัดตก (ระยะ bleed) เมื่อตั้งค่าขนาดงานแล้ว ให้ตั้งเผื่อขอบทุกด้าน 4 ด้าน ออกข้างละ 3 มิล แล้วดึงพื้นหลัง

หรือรูปภาพออกไปเกินจากขนาดงานจริง ส่วนตัวอักษรหรือเนื้องานให้อยู่ตำแหน่งเดิมที่ต้องการ

เพื่อป้องกันการเกิดขอบขาวตอนเครื่องการตัดเจียนจากกระดาษแผ่นใหญ่

  

ดังไฟล์รูปที่แนบมาค่ะ

 

(เส้นสีแดงคือขอบของขนาดงานจริง ส่วนที่เกินออกจากมากจากเส้นแดง คือเผื่อตัดตกค่ะ)

 

 

ชนิดของไฟล์สำหรับส่งให้โรงพิมพ์

 

1. ไฟล์ .pdf ที่เซฟ แบบ High Quality Print โดยที่ตั้งค่าการเผื่อตัดตกเรียบร้อยแล้ว

 

2. ไฟล์ .ai (โปรแกรม illustrator) ที่ create outline font และ ฝังภาพ embed images แล้ว

 

 

3. ไฟล์ .psd (โปรแกรม photoshop) ที่ตั้งค่าความละเอียด ตั้งแต่ 300 dpi/inch ขึ้นไป

 

 

4. ไฟล์ .innd (โปรแกรม indesign) ที่ ที่ create outline font และ ฝังภาพ embed images แล้ว

 

โดยที่ไฟล์ 

 

- ต้องกำหนดขนาดงานมาเท่าขนาดงานจริงที่ลูกค้าต้องการพิมพ์ พร้อมดึงเผื่อตัดตกตามที่กล่าวข้างต้น

 

- และทุกไฟล์ต้องตั้งค่าโหมดสีเป็น CMYK เท่านั้น